Wednesday, December 23, 2015

โรคขาดโปรตีนและพลังงาน

Healthier U Happier :

          เป็นโรคขาดสารอาหารชนิดหนึ่งที่เกิดจากร่างกายได้ทั้งพลังงานและโปรตีนไม่พอ เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เพราะเป็นวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ต้องการสารอาหารต่างๆ ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งหน่วยมากกว่าวัยอื่นๆ ถ้าเด็กได้อาหารซึ่งให้โปรตีนและพลังงานไม่พอ จะเป็นในด้านคุณภาพหรือปริมาณ ก็ทำให้โรคขาดโปรตีนและพลังงานได้ ลักษณะอาการของโรคนี้ที่เห็นแตกต่างกันอย่างชัดเจน 2 รูป แบบคือ ควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor) และ มาราสมัส (Merasmus)



          ควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor) เป็นโรคขาดโปรคตีนและพลังงานประเภทที่มีการขาดโปรตีนอย่างมาก อาการแสดงต่างๆ ที่ตรวจพบเป็นผลจากร่างกายมีโปรตีนไม่เพียงพอ เด็กมีอาการบวม เห็นได้ชัดที่ขา 2 ข้าง เส้นผมเปราะและหลุดร่วงง่าย ผิวหน้าบางลอกหลุดง่าย ตับโต เด็กมีอาการซึมและดูเศร้า ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ แย่ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
          ชื่อ ควาชิออร์กอร์ นี้ได้รับการขนานนามเมื่อ พ.ศ. 2476 โดยแพทย์หญิง Williams ซึ่งเป็นแพทย์ชาวอังกฤษและไปทำงานประเทศกานาในทวีปแอฟริกา ในสมัยนั้นกานายังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แฃะพบเด็กชาวกานาที่อาศัยอยู่ในบริเวณเมืองอักกราป่วยเป็นโรคนี้กันมาก คำว่าความชิออร์กอร์เป็นคำของชาวพื้นเมืองที่นั่น มีความหมายว่าการเจ็บป่วยของเด็กผู้เป็นพี่เมื่อแม่คลอดน้อง ที่เป็นเช่นนี้เพราะแม่ต้องให้น้ำนมตนเองแก่ลูกที่เกิดมาใหม่ส่วนเด็กผู้พี่ก็ไม่ได้นมแม่อีกต่อไป อาหารที่กินอยู่มีแต่แป้ง มีโปรตีนไม่พอ โรคนี้มักพบในเด็กอายุมากกว่า 1 ปีไปแล้ว 
          มาราสมัส เป็นคำกรีก หมายถึง การสูญเสีย เป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงานประเภทหนึ่งที่ขาดพลังงานและโปรตีน เด็กมีแขนขาลีบเล็ก เพราะทั้งไขมันและกล้ามเนื้อถูกเผาผลาญมาใช้เป็นพลังงานเพื่อการอยู่รอด ผิวหนังหุ้มกระดูก เหี่ยวย่นเหมือนหนังคนแก่ ไม่มีอาการบวม ตับไม่โต มารามัสมักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากมีการหย่านมไว เด็กได้รับการเลื้ยงดูด้วยอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น นมข้นหวาน แถมยังผสมแบบเจือจางเลยทำให้ขาดพลังงานและโปรตีน
          ถึงแม้โรคขาดโปรตีนและพลังงาน มีลักษณะเด่นชัดแยกได้เป็น 2 พวกตามที่กล่าวแล้ว เด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีนและพลังงาน อาจมีลักษณะที่ผสมกันทั้งสองอย่างในเด็กคนเดียวกันก็ได้

โภชนาการที่ไม่ดี..ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

Healthier U Happier :

มาดูกันว่า เรามีพฤติกรรมจัดอยู่ในข้อเหล่านี้หรือไม่


1. มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแย่
เช่น สูบบุหรี่จัด หรือติดแอลกอฮอล์ ไลฟ์สไตล์เช่นนี้ เทียบได้กับการสะสมพิษที่ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว และยังมีพฤติกรรมที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ เช่น กินอาหารไม่เป็นเวลา การกินอาหารแบบเร่งรีบ จึงเคี้ยวไม่ละเอียด กินอาหารด้วย อาการเครียด พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้ร่างกายกายดูดซึมสารอาหารไม่ได้เต็มที

2. ภาวะร่างกายสูญเสียพลังงาน
เช่น หญิงตั้งครรภ์ หญิงสูงอายุ หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือร่างกายปฏิเสธไม่รับอาหารเพื่อใช้การสะสมความแข็งแรงเติมความสมบูรณ์ให้กับร่างกาย

3. อยู่ท่ามกลางสภาวะเป็นพิษ
เช่น ร่างกายสะสมมลพิษไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่งผลให้ภูมิต้านทานอ่อนกำลังลงและใช้เวลานานกว่าร่างกายจะขับออกมาทำให้สุขภาพอ่อนแอง่ายกว่าปกติ

4. กระบวนการแปรรูปอาหาร
เช่น การกินอาหารในภัตตาคาร หรือในร้านอาหารตามสั่งเป็นประจ า ซึ่ง เราไม่สามารถรู้ได้ว่ามีสิ่งแปลกปลอมใดเพิ่มเติมมาในจานอาหารทำให้เราไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วน (สุธารัชฎ์, 2555)

ใครมีพฤติกรรมแบบนี้ ปรับเสียนะคะ สุขภาพดีเราสร้างได้ เพียงแค่ปรับค่ะ


จากบทความคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร คืออะไร

Healthier U Happier :

หมายความว่า

          ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปกติ ซึ่งมีสารอาหารหรือสารอื่นเป็นองค์ประกอบ อยู่ในรูปแบบเม็ด แคปซูลผง เกล็ด ของเหลว หรือ ลักษณะอื่น ซึ่งมิใช่รูปแบบอาหารตามปกติ (conventional foods) สำหรับผู้บริโภคที่คาดหวังประโยชน์ทางด้านส่งเสริมสุขภาพ (สุรันทร์, 2554)



          ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีการจำหน่ายแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะจำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภคในลักษณะขายตรงและมีการโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า จำเป็นต้องรับประทาน หรือโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณว่ามีผลในการป้องกันและรักษาโรค อาจมีผลทำให้ ผู้บริโภคหลงเชื่อคำโฆษณาเหล่านั้น ละเลยการดูแลรักษาสุขภาพ และเสียโอกาสที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

          ข้อเท็จจริงแล้วผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจัดเป็นอาหารไม่ใช่ยา จึงไม่มีสรรพคุณในการป้องกันบำบัด หรือรักษาโรค และเป็นผลิตภณัฑ์สำหรับผู้บริโภคที่มีสุขภาพร่างกายปกติไม่ใช่ผู้ป่วยและเป็นเพียงผลิตภัณฑ์รับประทานนอกเหนือจากอาหารปกติสำหรับผู้บริโภคที่คาดหวังประโยชน์ทางด้านสุขภาพเท่านั้น (สำนักอาหาร, 2550)

          จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ผู้คนจะหันมาใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกันมากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิง เพราะมีความสนใจใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในเรื่องความสวยความงาม และใช้ในปริมาณที่เกินความจำเป็น ซึ่งในอดีตนั้นไม่มีความจำเป็นเลยที่เราต้องใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ เหล่านี้ (Paleodietguru, 2012)

          สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถึงแม้ว่าวิตามินและเกลือแร่อาจจะมีอันตรายน้อย แต่เมื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านขั้นตอนต่างๆ แล้ว ก็ยากที่จะทราบถึงอันตรายของสิ่งเหล่านี้ได้ คือ แหล่งที่มาของวัสดุที่ใช้ในการผลิต แล้วผลิตภัณฑ์แต่ล่ะชุดนั้นมีคุณค่าคงเดิมหรือไม่ ถ้ากระบวนการมีน้อย หรือมากเกินไปจะมีผลทำให้สารออกฤทธิ์อะไรบ้างหรือเปล่า และถ้ำมีกระบวนการอื่นๆ เข้ามาแทรกที่อาจจะทำให้เกิดสารปนเปื้อนอันไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจมีอันตรายจากขั้นตอนต่างๆเ หล่านี้ได้ จึงต้องผ่านกระบวนการ ตรวจสอบของส านักงานอาหารและยาก่อน (Iserloh, 2009)

          และเราต้องคำนึงถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาหารที่เหมาะกับตัวเองด้วย คือ อาหารเสริมที่ช่วยบำรุง สุขภาพของเราให้ดีขึ้น ช่วยฟื้นฟูปัญหาสุขภาพได้อย่างตรงจุด เช่น อาการนอนไม่หลับ อาการอ่อนเพลีย หรือ แม้แต่การช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายให้แข็งแรง และที่สำคัญคือ ต้องปลอดภัยต่อสุขภาพกระดูก ตับและระบบประสาทของเราด้วย สิ่งสำคัญในการบริโภค คือ ควรกินตามปริมาณ บริโภคที่แนะนำต่อวัน หากเกินปริมาณที่กำหนดไว้อาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ (สุธารัชฎ์, 2555)
  


ทำไมต้องบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

Healthier U Happier :


          มีผลงานวิจัยทางการแพทย์ที่แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงกันระหว่างโภชนาการที่ดีกับการมีสุขภาพดีในระยะยาว คนส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าโภชนาการที่ดีกับการมีสุขภาพดีในระยะยาว คนส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าโภชนาการที่สมดุลประกอบด้ยความมหลากหลายของผักผลไม้ ข้าว และธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี และมีปริมาณวิตามินแร่ธาตุ รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของโภชนาการที่ดี แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เข้าใจถึงความสำคัญของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร



โภชนาการที่ไม่ดี
          มีเพียงไม่กี่คนที่บริโภคอาหารที่ถูกหลักโภชนาการอย่างสม่ำเสมอ เรามักจะรับประทานอาหารที่ชอบ ไม่หลากหลาย เพียงเพราะต้องการอาหารรสชาติที่เราชอบเท่านั้น

อาหารสำเร็จรูป
          เพื่อความสะดวกสบายเรามักจะรับประทานอาหารสำเร็จรูปแทนอาหารสดและให้ครบ 5 หมู่ กระบวนการแปรรูปอาหารทำให้สารอาหารที่มีตามธรรมชาติสูญเสียไป เช่นเดียวกันกับการปรุงอาหารให้สุกเกินไปในอาหารชนิดเดียวกัน การเพาะปลูกในสถานที่แตกต่างกัน ก็ทำให้มีองค์ประกอบของสารอาหารในปริมาณที่ไม่เท่าก้น

ปราการป้องกันจากอนุมูลอิสระ
          ในแต่ละวันเราต้องเผชิญกับมลพิษและสารพิษเพิ่มขึ้นทุกวัน เซลล์ของเราต้องการการปกป้องที่สูงขึ้น เพื่อต่อต้านความเสื่อมของเซลล์

โภชนาการที่สมบูรณ์
          ต้องมีปริมาณวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณที่กำหนดตามหลักโภชนาการ (Recommended Dietary Allowance RDA) ตั้งแต่แรกเริ่ม RDAs เป็นแนวทางในการลดความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร เช่น การเกิดโรคกระดูกพรุนจากภาวะขาดแคลเซียม การเกิดโรคเลือดออกตามไรฟันจากภาวะการขาดวิตามินซี

"ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีคุณภาพจะให้สารอาหารหลากหลายในปริมาณสูงสมดุลและอยู่ในรูปแบบที่ร่างกายนำไปใช้ได้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารทดแทนสิ่งที่ขาดไปจากการบริโภคอาหารในแต่ละวัน ทำให้เราดำเนินชีวิตถูกสุขลักษณะ ซึ่งส่งผลให้เรามีสุขภาพดียืนยาว"

Tuesday, December 22, 2015

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร..จำเป็นหรือไม่?


Healthier U Happier :
  
        เนื่องจากชีวิตความเป็นอยู่ที่เร่งรีบตั้งแต่เช้าจรดเย็น เร่งรีบในทุกๆ เรื่อง ชีวิตจะ slow life หาได้ยากนัก กิจวัตรประจำวันที่ยุ่งเหยิงทำให้หลายๆ คนละเลยการดูแลตนเอง เริ่มตั้งแต่เรื่องการกินอาหารเช้าซึ่งเป็นอาหารมื้อหลัก มักกินอาหารแต่ละมือไม่ตรงเวลา ไม่ครบสามมือ นาฬิกาชีวิตรวนไปหมด ทำให้ร่างกายอ่อนแอและทรุดโทรมลง ส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพในการทำงานเป็นอย่างมาก



           การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐเห็นจะจริงที่สุด ทุกคนอยากให้ตนเองมีสุขภาพที่ดีจะได้มีชีวิตอยู่ได้นานๆ แต่ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นไปทำให้หลายคนมีสุขภาพไม่ได้เป็นไปอย่างที่ต้องการ ทุกวันนี้เราทำงานหนักเพื่อให้ได้เงินมาทำให้ชีวิตของเรามีความสุข ทำงานจนสุขภาพเสียเพื่อให้ได้เงิน แล้วเงินจำนวนนั้นไปไหนละ!!! ก็เอามารักษาสุขภาพที่ย่ำแย่ไปกับการหาเงินนั่นแหล่ะจะมีอะไรเกินกว่านี้ล่ะ

          ในเมื่อชีวิตประจำวันของแต่ละคนจะกินจะขับถ่ายไม่เป็นเวลาแบบนี้ อาหารที่กินไปก็ไม่ได้ให้ประโยชน์ครบ 5 หมู่อย่างที่เราร่ำเรียนจำฝังหัวว่าต้องกินให้ได้เท่านี้ ดังนั้นคนถึงแสวงหาหนทางให้ได้มาซึ่งคำว่า "สุขภาพดี" แล้วทำไงละถึงจะกินอยู่ได้อย่างคนมีสุขภาพดี

          "ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร" จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คนนึกถึง เพื่อให้ตนเองได้รับสารอาหารครบตามที่ร่างกายต้องการ แล้วจำเป็นไหมละต้องกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร? ถามกลับไปว่าแล้วคุณๆ รู้จักผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกันดีแค่ไหน ทำไมต้องกินละ...จำเป็นหรือเปล่าที่ต้องเสียเงินซื้อมากินเนี่ย!!!!

          ภญ.ฐนิตา  ทวีธรรมเจริญ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราชด้กล่าวไว้บนเว็บไซต์ Siriraj E-Public Library ว่า "หลายคนคิดว่าอาหารเสริมสะดวกต่อการรับประทาน และทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ อีกทั้งสามารถชดเชยสารอาหารที่ขาดไปได้ทั้งหมด ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด อย่างไรก็ดี ในบางสภาวะของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยที่เบื่ออาหาร หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหารมากกว่าปกติ เพราะบางรายแม้จะรับประทานอาหารตามปกติแต่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้เท่าเดิมและอาจทำให้ร่างกายเดสภาวะขาดสารอาหารได้ ดังนั้นการรับประทานอาหารเสริมจึงอาจมีความจำเป็น นอกจากนี้หากเรามีร่างกายแข็งแรงเป็นปกติ แต่เลือกรับประทานอาหาร ก็อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิดได้เช่นกัน ซึ่งกรณีนี้ควรปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หรืออาจเสริมสารอาหารในบางชนิดในส่วนที่ขาดตามความจำเป็น" เห็นไหมคะว่าจริงแล้วก็ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องกิน แต่หากกินก็จะทำให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารที่จำเป็นในแต่ละวันได้ครบถ้วน แต่ไม่ใช่ว่ากินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเสียจนลืมกินอาหารให้ครบ 5 หมู่นะคะ ต้องทำทุกอย่างแต่พอดีค่ะ

          ดังนั้น การกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้ได้ผลดีและปลอดภัย ควรจะศึกษาหาข้อมูลผลิตภัณฑ์นั้นๆจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และสำคัญมากๆ เลยนะคะหากคุณเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ก่อนแล้วควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเพื่อความปลอดภัยค่ะ