Wednesday, March 9, 2016

เมลาโทนิน ช่วยให้หลับดี..จริงหรือ?

Healthier U Happier :



"เมลาโทนิน" ฮอร์โมนแห่งรัตติกาล (Melatonin The darkness hormone)

เมลาโทนิน คืออะไร?
เป็นฮอร์โมนในระบบประสาทที่ร่างกายสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติ ผลิตจากต่อมไพเนียลซึ่งอยู่บริเวณกึ่งกลางของสมองส่วนซีรีบรัม (Cerebrum) ซีกซ้ายและซีกขวา มีขนาดเท่ากับเมล็ดข้าว มีสีแดงปนน้ำตาล ตรวจพบได้ในกระแสเลือด น้ำหล่อเลี้ยงสมอง และไขสันหลัง (Cerebrospinal fluid) และยังสามรถสร้างจากเนื้อเยื่อส่วนอื่นของร่างกายได้อีก เช่น เรติน่า (Retina) เซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟชัยท์ (Lymphocytes) และในระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract) เป็นต้น

เมลาโทนินเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตอย่างไร?

ต่อมไฟเนียลผลิตเมลาโทนินโดยอาศัยความมืดเป็นตัวกระตุ้น และถูกยับยั้งโดยแสงสว่าง ซึ่งระดับของเมลาโทนินจะเปลี่ยนแปลขึ้นหรือลงตามวัฏจักรภายใน 24 ชั่วโมง หรือที่เรียกว่า "ระบบนาฬิกาชีวิต" (Circadian Rhythm) โดยต่อมไพเนียลจะเริ่มสร้างเมลาโทนินจากการรับรู้ความมืดผ่านดวงตา จนมีปริมาณสูงสุดในช่วงเวลา 02.00-04.00 น. แล้วจะสร้างลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่ง 07.00-08.00 น.

ระดับเมลาโทนินในกระแสเลือดจะมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ละช่วงวัย ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาจะได้รับเมลาโทนินผ่านทางรกของมารดา แต่เมื่อทารกกำเนิด ต่อมไพเนียลของทารกจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนจึงจะเจริญจนผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินได้และจะผลิตเพิ่มมากจนถึงระดับสูงสุดในช่วงอายุ 1-3 ขวบ และหลังจากนั้นจะลดต่ำลงโดยเฉพาะช่วงที่เข้าสู่วัยรุ่นเมลาโทนินจะลดลงมาก ซึ่งเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการของระบบสืบพันธุ์ของร่างกายที่เข้ามาแทนที่


เมื่ออายุมากขึ้นระดับฮอร์โมนเมลาโทนินจะยิ่งลดลงจนอาจวัดค่าไม่ได้เลยในวัย 70-80 ปี แสดงให้เห็นว่า ระดับฮอร์โมนเมลาโทนินที่ลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้นอาจมีความสัมพันธ์กับกลไกการชราภาพ โดยเชื่อว่าเมลาโทนิน อาจช่วยชะลอความชราได้ โดยผ่านกระบวนการกำจัดอนุมูลอิสระและการป้องกันการเกิด Oxidative Stress


บทบาทของฮอร์โมนเมลาโทนิน
เมลาโทนินได้ชื่อว่าเป็น "ฮอร์โมนแห่งรัตติกาล" ควบคุมระบบนาฬิกาชีวิตและวงจรการนอนของมนุษย์ (Sleep-wake cycle) ช่วยปรับการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนอื่นๆ ของร่างกาย และควบคุมระบบบเมตาบอลิซึม อีกทั้งยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ลดการปวด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านออกซิเดชั่น

เมลาโทนินมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของร่างกายในหลายๆ ระบบ ช่วยเรื่องของระบบนาฬิกาชีวิตภายใต้การควบคุมจากแสดง (Light-dark cycle) และช่วยรักษาความผิดปกติของการทำงานของระบบนาฬิกาชีวิตเป็นสำคัญ เช่น ความผิดปกติของการนอนหลับ (Sleep disturbance) หรือความผิดปกติอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฤดุกาล (Seasonal affective disorders)

ข้อดีของเมลาโทนินที่เหนือกว่ายานอนหลับ คือ ไม่มีอาการข้างเดียง เช่น อาการเมาค้างในวันรุ่งขึ้น (Next-day hangover) อาการถอนยา (Withdrawal effect) หรือภาวะติดยา (Dependence liability) เหมือนกลุ่ม benzodiazepines

สำหรับการใช้ในการรักษาโรคต่างๆ เช่นความผิดปกติในการนอนหลับ (Sleep disturbance) ความผิดปกติของสมองที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบนาฬิกาชีวิต (Neuropschiatric disorders related to circadian dysphasing) และโรคเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญอาหารอันเนื่องมาจากภาวะดื้ออินสุลิน (Metabolic diseases associated with insulin resistance) เป็นต้น

Cr : ข้อมูล R&D Newslette ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2558

No comments:

Post a Comment

Leave a Comment :